That's right (just like what Julie Andrews teaches children how to sing in "The Sound of Music")...the first three notes just happen to be Do-Re-Mi. This is the first part of a three-part story about my piano journey.
Warning: This is a very, very long story (which I'd rather call it my own nostalgic reflections). Skip reading the story if you're not a fan of classical music.
ฉันเริ่มเรียนเปียโนครั้งแรกในชีวิตตอนอายุได้ 7 ขวบ คุณครูสอนเปียโนคนแรกของฉันคือรุ่นน้องที่ทำงานของแม่ เป็นความโชคดีที่เพื่อนแม่ท่านนี้รับสอนเปียโนตามบ้าน เพลงที่สามารถหัดเล่นได้ในช่วงเริ่มแรกของการเรียนก็จะเป็นเพลงสำหรับเด็กที่คุ้นหูทั่วไป เช่น Twinkle, Twinkle, Little Star, Old MacDonald Had a Farm, London Bridge Is Falling Down เป็นต้น
ในการเรียนแต่ละครั้ง คุณครูจะช่วยในการแบ่งเพลงให้เป็นท่อนสั้นๆ สำหรับให้เด็กในวัยฉันสามารถฝึกเล่นได้ง่ายขึ้น พอเรียนเสร็จแต่ละครั้ง ครูก็จะหยิบปากกาดินสอออกมาจากกระเป๋าเสื้อ (ปากกาดินสอของครูจะเป็นแบบที่เวลาจะใช้ต้องหมุนตรงด้ามปากกาแล้วไส้ดินสอถึงจะออกมา ไม่ใช่แบบกดๆ ตรงหัวปากกาแบบที่ฉันใช้) และติ๊กเครื่องหมายถูก เหมือนเวลาครูในโรงเรียนทำการตรวจการบ้านนักเรียน พร้อมลงวันที่กำกับไว้อย่างเรียบร้อย พอถึงการเรียนครั้งต่อไปก็จะทราบว่าเพลงนี้เรียนถึงตรงไหนแล้วและต้องเล่นท่อนไหนต่อ
สิ่งที่ฉันจำได้แม่นเกี่ยวกับคุณครูท่านนี้คือ ลายมือของครูสวยมาก เป็นอักษรตัวบางแต่รู้สึกได้ว่าฉวัดเฉวียนอย่างมั่นใจในทิศทางสวยงาม ให้ลองนึกภาพตามประหนึ่งว่าเราเห็นศิลปินกำลังลงมือเขียนคำอะไรสักอย่างลงไปในภาพวาดของเขา หลังจากที่ได้ทำการร่างภาพและลงสีสวยงามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลายมือของครูเป็นแบบนั้น เป็นลายมือของศิลปินโดยแท้จริง
ตอนที่ครูต้องการอธิบายความรู้เพิ่มเติมให้ฉันเข้าใจนอกเหนือไปจากตัวโน้ตที่เล่นในหนังสือ ฉันจะชอบดูมาก ครูจะเริ่มด้วยการตีบรรทัด 5 เส้น วาดสัญลักษณ์กุญแจซอลและกุญแจฟา
ขอนอกเรื่อง แอบบอกว่าฉันชอบกุญแจซอลมากกว่ากุญแจฟานิดนึง เพราะรู้สึกมาตลอดว่าการจะเขียนกุญแจซอลให้สวยได้นั้น จะต้องเขียนโดยมีทิศทางที่แน่นอนและสัดส่วนที่แม่นยำ ถึงจะออกมาสวยงาม เวลาเห็นครูเขียนกุญแจซอล ฉันจะพยายามจดจำว่าครูเริ่มเขียนยังไง จบแบบไหน แล้วเอาไปเขียนในชั่วโมงภาษาอังกฤษสมัยประถม โดยสมัยนั้น เด็กนักเรียนจะต้องฝึกคัดตัวอักษรภาษาอังกฤษด้วยปากกาคอแร้งและปากกาหมึกซึม
ด้วยเหตุที่ตัว i ที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่มีลักษณะคล้ายกับกุญแจซอลนั่นเอง เด็กใสๆ อย่างฉันที่ได้ต้นแบบตัว i มาจากการเรียนดนตรี เลยลงมือเขียนตัว i แบบกุญแจซอล ทำให้ในหลายครั้งเวลาที่คุณครูภาษาอังกฤษตรวจการเขียนของฉัน ฉันจะได้การบ้านภาค Correction (ขีดเส้นใต้สีแดง 2 เส้น ตรงคำว่า Correction) กลับมาเสมอ ซึ่งฉันต้องทำการเขียนแก้ไขตัว i ของฉันให้กลับมาเป็น i ภาคปกติ เหมือนชาวบ้านเขา ไม่ใช่ภาคพิสดารเหมือนที่เขียนส่งครู เป็นจำนวน 3 ครั้ง 555
ไม่แน่ใจว่าเด็กในยุคนี้ ยังได้เรียนการหัดเขียนตัวอักษรด้วยปากกาคอแร้งหรือปากกาหมึกซึมกันอยู่มั้ย แต่ฉันชอบมาก รู้สึกเป็นการเรียนที่สอนให้เข้าถึงความละเมียดละไมไปในเวลาเดียวกัน ถึงแม้การเขียนของฉันจะไม่ค่อยละเมียดก็ตาม เหอะๆ
ขอนอกเรื่อง แอบบอกว่าฉันชอบกุญแจซอลมากกว่ากุญแจฟานิดนึง เพราะรู้สึกมาตลอดว่าการจะเขียนกุญแจซอลให้สวยได้นั้น จะต้องเขียนโดยมีทิศทางที่แน่นอนและสัดส่วนที่แม่นยำ ถึงจะออกมาสวยงาม เวลาเห็นครูเขียนกุญแจซอล ฉันจะพยายามจดจำว่าครูเริ่มเขียนยังไง จบแบบไหน แล้วเอาไปเขียนในชั่วโมงภาษาอังกฤษสมัยประถม โดยสมัยนั้น เด็กนักเรียนจะต้องฝึกคัดตัวอักษรภาษาอังกฤษด้วยปากกาคอแร้งและปากกาหมึกซึม
ด้วยเหตุที่ตัว i ที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่มีลักษณะคล้ายกับกุญแจซอลนั่นเอง เด็กใสๆ อย่างฉันที่ได้ต้นแบบตัว i มาจากการเรียนดนตรี เลยลงมือเขียนตัว i แบบกุญแจซอล ทำให้ในหลายครั้งเวลาที่คุณครูภาษาอังกฤษตรวจการเขียนของฉัน ฉันจะได้การบ้านภาค Correction (ขีดเส้นใต้สีแดง 2 เส้น ตรงคำว่า Correction) กลับมาเสมอ ซึ่งฉันต้องทำการเขียนแก้ไขตัว i ของฉันให้กลับมาเป็น i ภาคปกติ เหมือนชาวบ้านเขา ไม่ใช่ภาคพิสดารเหมือนที่เขียนส่งครู เป็นจำนวน 3 ครั้ง 555
ไม่แน่ใจว่าเด็กในยุคนี้ ยังได้เรียนการหัดเขียนตัวอักษรด้วยปากกาคอแร้งหรือปากกาหมึกซึมกันอยู่มั้ย แต่ฉันชอบมาก รู้สึกเป็นการเรียนที่สอนให้เข้าถึงความละเมียดละไมไปในเวลาเดียวกัน ถึงแม้การเขียนของฉันจะไม่ค่อยละเมียดก็ตาม เหอะๆ
นอกเรื่องไปนาน กลับมาต่อที่ครูเปียโน หลังจากวาดกุญแจซอลและกุญแจฟาแล้ว จากนั้นครูก็จะเขียนตัวโน้ตขาวดำลงไปในแต่ละบรรทัด เพื่ออธิบายจังหวะของโน้ตแต่ละตัวให้ฉันเข้าใจ บางครั้งครูก็จะวาดเครื่องหมาย slur ที่เป็นเส้นโค้งคลุมกลุ่มตัวโน้ต พร้อมกับอธิบายว่าต้องเล่นแบบไหน ให้ความรู้สึกตื่นเต้น เหมือนเห็นโค้ดลับ อะไรประมาณนั้น
หรือเวลาครูเขียนอธิบายคำศัพท์ทางดนตรีอย่างเช่น crescendo, pianissimo, fortissimo, ma non troppo, allegro moderato, adagio, legato, scherzo หรือ vivace (คำสุดท้าย แลดูไม่เข้าพวกนะ เห็นมั้ยว่าเพื่อนๆ เค้ามาจากตระกูล "โอ้" กันทั้งนั้น อืม...vivace จ๊ะ ตัวเธอสนใจจะเปลี่ยนชื่อเป็นปีโป้มั้ยจ๊ะ จะได้เข้ากับเพื่อนๆ ได้ไง เป็นปีโป้ มันก็น่าจะได้ฟีลคล้ายๆ vivace นะ) ฉันจะมองเพลินตอนที่ครูกำลังเขียนคำๆ นั้น ทำให้บ่อยครั้งที่จำไม่ได้ว่าคำที่ครูกำลังอธิบายอยู่นั้นหมายความว่าอะไร จะถามครูซ้ำก็ไม่กล้าพอ 555 ไขว้เขวง่ายแต่เด็กเลยนะแก (อันนี้ข้าพเจ้าพูดเอง ครูไม่ได้พูด แฮ่)
หรือเวลาครูเขียนอธิบายคำศัพท์ทางดนตรีอย่างเช่น crescendo, pianissimo, fortissimo, ma non troppo, allegro moderato, adagio, legato, scherzo หรือ vivace (คำสุดท้าย แลดูไม่เข้าพวกนะ เห็นมั้ยว่าเพื่อนๆ เค้ามาจากตระกูล "โอ้" กันทั้งนั้น อืม...vivace จ๊ะ ตัวเธอสนใจจะเปลี่ยนชื่อเป็นปีโป้มั้ยจ๊ะ จะได้เข้ากับเพื่อนๆ ได้ไง เป็นปีโป้ มันก็น่าจะได้ฟีลคล้ายๆ vivace นะ) ฉันจะมองเพลินตอนที่ครูกำลังเขียนคำๆ นั้น ทำให้บ่อยครั้งที่จำไม่ได้ว่าคำที่ครูกำลังอธิบายอยู่นั้นหมายความว่าอะไร จะถามครูซ้ำก็ไม่กล้าพอ 555 ไขว้เขวง่ายแต่เด็กเลยนะแก (อันนี้ข้าพเจ้าพูดเอง ครูไม่ได้พูด แฮ่)
อีกสิ่งหนึ่งที่จำได้แม่นเกี่ยวกับการเรียนดนตรีในช่วงนี้ก็คือ หนังสือที่ใช้ในการเรียน จากหนังสือเล่มบางๆ ที่มีเพลงสำหรับเด็ก พร้อมรูปภาพดาว หมู หมา ไก่ เป็ด วัว ม้า พ่วงเนื้อร้องประกอบตัวโน้ตแต่ละตัว เพื่อให้สามารถร้องตามได้เป็นที่สนุกสนาน ต่อมาฉันก็พบว่า ดวงดาวค่อยๆ หายไป เหล่าปศุสัตว์ก็ถูกต้อนเข้าคอก กลายมาเป็นหนังสือโน้ตเพลงที่มีเพียงรูปภาพเล็กๆ จนในที่สุดก็เป็นหนังสือที่มีแต่ตัวโน้ตล้วนๆ
หนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆ ของการเรียน (แบบที่เริ่มเป็นเรื่องเป็นราว) คือ John Thompson's Modern Course for the Piano จำได้ว่าเป็นเล่มสีแดงๆ ฉันว่าฉันชอบหนังสือเล่มนี้ เพราะว่าภาพประกอบก็ยังไม่หายไปหมด ยังคงพอมองเห็นประปราย เป็นภาพเล็กๆ ที่บางครั้งก็เป็นภาพวาดน่ารัก น่าเอ็นดู และบางครั้งก็เป็นส่วนที่เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายเทคนิคที่ต้องเข้าใจในการเล่นเพลงนั้นๆ (สารภาพมาเถอะว่าแกชอบหนังสือที่มีภาพประกอบใช่มะ)
เล่มต่อไปสำหรับการเรียน ซึ่งคิดว่าเล่มนี้น่าจะเป็นเล่มที่คนเรียนเปียโนหลายๆ คนก็คงจะผ่านกันมาแล้วทั้งนั้น ก็คือ Piano Pieces for Children เล่มที่ฉันใช้เรียนเป็นเล่มสีเขียว-น้ำเงิน หน้าปกเป็นคุณครูผู้หญิงใส่ชุดเดรส สวมรองเท้าส้นสูง (ดูผู้ดีมาก) ยืนอยู่ข้าง grand piano กำลังสอนเด็กผู้หญิงดูแล้วน่าจะมีผมสีบลอนด์ สวมที่คาดผม ห้องเรียนเป็นห้องกระจกใสที่ผ้าม่านยาวจรดพื้น โดยผ้าม่านแต่ละด้านจะถูกมัดรวบไว้ด้านข้าง สามารถมองออกไปเห็นวิวทิวทัศน์ที่ (เดาว่าน่าจะ) สวยงามด้านนอกได้ ฉันว่าบ้านเด็กคนนี้ต้องมีฐานะแน่นอน ห้องเรียนเปียโนมันถึงได้อลังการงานสร้างได้ขนาดนี้ เอิ่ม...หยุดมโนแล้วกลับมาที่เรื่องหนังสือดีกว่ามั้ย
สาเหตุที่ฉันประทับใจในหนังสือเล่มนี้ เพราะเป็นเล่มที่ใช้ในการเรียนนานมาก แต่เรียนได้ไม่หมดทุกเพลงในเล่ม เนื่องจากมีเพลงหลากหลายมากมาย บางเพลงครูไม่ได้สอน ฉันมาหัดเล่นด้วยตัวเองในช่วงหลัง เพลงที่ยังพอจำได้ว่าชอบเล่น ก็จะมีดังนี้
เพลงที่ครูสอน
ก่อนอื่น ขอบอกให้เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันก่อนว่า การเรียงลำดับเพลง เป็นการเรียงจากความทรงจำเท่าที่พอจะนึกออก ไม่ได้เรียงตามลำดับการเรียนนะ
1. Für Elise (Beethoven)
เพลงที่เปรียบได้กับยาสามัญประจำบ้าน เพราะน่าจะเป็นเพลงที่คนเรียนเปียโนคงเล่นได้กันทั้งนั้น (แต่จะเล่นเพราะหรือไม่ นั่นก็เป็นอีกเรื่องนึงนะ 555) ฉันจำได้ว่านานมากแล้วที่เคยได้ดูรายการนึงที่เชิญนักร้อง นักเปียโนชื่อดังมากความสามารถอย่าง Alicia Keys มาสัมภาษณ์ แล้วมีช่วงนึงที่เธอได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับการเรียนเปียโนในวัยเด็กของเธอ และได้กล่าวถึงเพลงนี้ขึ้นมา ซึ่งเธอพูดได้ตรงกับใจฉันเหลือเกิน Alicia บอกว่าท่อนที่เธอชอบที่สุดในการเล่นเพลงนี้ก็คือ ท่อนที่เริ่มเป็น p meno mosso (คือเธอไม่ได้พูดบอกเป็นตำแหน่งท่อนแบบที่ฉันเขียนนะ แต่เธอเล่นเปียโนให้พิธีกรดูเลย แต่ฉันไม่รู้จะระบุถึงท่อนที่ว่านี้ยังไง ก็เลยได้แต่ใช้วิธีเขียนบอกแบบนี้แทน)
2. Mazurkas, Op. 7, No. 1 (Chopin)
ตอนหัดเรียนเพลงนี้ ฉันรู้สึกทรมานกับเจ้าโน้ตตัวแขวนเล็กๆ จนอยากใช้ยางลบมาลบออกจากหน้าเพลง จะได้ไม่ต้องเล่น (และจนบัดนี้ก็ยังไม่รู้ว่าศัพท์ทางดนตรีเรียกโน้ตลักษณะนี้ว่าอะไร) รวมไปถึงเทคนิคการ trill ที่เล่นแล้วปวดตับ ปากเบี้ยว คิ้วขมวด เมื่อยนิ้วมาก แต่ถ้าเล่นชำนาญและคล่อง จะฟังแล้วเพราะและเพลินมาก ซึ่งการเล่นของฉันนั้นก็ยังไม่บรรลุถึงขั้นที่ฟังแล้วเพราะได้เลย (so sad)
3. The Blue Danube (Strauss II)
เป็นเพลงที่อยู่ช่วงท้ายๆ ของเล่มและยาวมากในความรู้สึกเด็กอย่างฉันในตอนนั้น ฝึกเรียนอยู่นานหลายอาทิตย์ แต่ก็เป็นเพลงที่ชอบเล่นมาก เล่นแล้วให้อารมณ์เหมือนอยู่ในงานเต้นรำ นึกภาพคนออกมาเต้นรำ ผู้หญิงใส่กระโปรงพองๆ ฟูๆ เหมือนในหนังสือเทพนิยาย แล้วจะอินมากขึ้นเวลาเล่นเพลงนี้
4. Serenade (Schubert)
เวลาเล่นเพลงนี้ จะให้ฟีลรันทดเล็กๆ เพราะเล่นไม่ได้ อุ๊ย! ไม่ใช่ แต่เป็นเพราะเพลงนี้ฟังแล้วให้ความรู้สึกหวานปนเศร้า ฉันว่าเพลงนี้ อารมณ์เพลงคล้าย Moonlight Sonata ของ Beethoven นะ (พูดถึง Moonlight Sonata ก็นึกถึงโคนันและตอน Moonlight Sonata Murder Case ที่พอได้ดูแล้ว คิดว่าถ้าไม่มีรันที่เล่นเปียโนได้และโคนันไม่มีความรู้ด้านดนตรี คงไขคดีไม่ได้แหงๆ พอดูโคนันตอนนี้จบ มันจะหน่วงๆ เศร้าๆ และฉันก็ยังเล่นบทเพลงแสงจันทร์ไม่ค่อยได้เหมือนเคย แหะๆ)
5. Song of India (Rimsky-Korsakov)
เพลงนี้ต้องเน้นย้ำว่าฉัน ชอบมาก จำได้ว่าตอนซ้อม แม่เคยถามว่ากำลังเล่นเพลงอะไร ทำไมทำนองเหมือนเพลงไทย เป็นเพลงที่เวลาเล่น เหมือนกับต้องคอยปรับเปลี่ยนอารมณ์ไปตามท่วงทำนองของเพลงตลอดเวลา
6. Le Coucou (Daquin)
นี่ก็เป็นอีกเพลงที่ใช้เวลาเรียนพอสมควรเลย เวลาฝึกเล่นเพลงนี้ สามารถมโนได้ว่ากำลังนั่งชมสวนแล้วมีนกมาร้อง คุกคู คุกคู อยู่ข้างๆ
7. The Fountain, Op. 221 (Bohm)
สุดแสนเศร้าใจแทนผู้ประพันธ์ที่ต้องกลายเป็น "คุณบวม" ตามความรู้ภาษาอังกฤษอันจำกัดจำเขี่ยของฉันในวัยนั้น ถ้าคุณบวมได้ฟังฉันเล่นเพลงนี้ เป็นไปได้ว่านอกจากนามสกุลที่กลายเป็นบวมแล้ว อาจมีอาการจิตใจบอบช้ำเพิ่มขึ้นด้วย
8. The Harebell (Smallwood)
สุดท้ายของเซ็ตนี้ แต่เป็นเพลงแรกๆ ในเล่มนี้ที่ได้หัดเรียน จำความรู้สึกตอนที่เรียนจบเพลงแล้วมาเล่นโชว์ให้แม่ฟังอย่างภาคภูมิใจได้ดี เป็นเพลงที่แม่ชอบรีเควสให้เล่น และแม่ก็มักสมหวัง (หารู้ไม่ว่า เพราะมันง่ายไงแม่ 555)
เพลงที่มาหัดเล่นเอาเองในช่วงหลัง
เกือบทั้งหมดของเพลงที่ลองหัดเล่นเอง จะเป็นเพลงง่ายๆ ไม่ยาวมากนัก ไม่ค่อยซับซ้อนหรือใช้เทคนิคเยอะแยะมากมาย แต่ก็เป็นเพลงที่ฟังแล้วเพราะ นี่จึงเป็นที่มาของการเรียนรู้ที่จะพยายามหัดเล่นให้ได้ด้วยตัวเอง
1. Gertrude's Dream Waltz (Beethoven)
เพลงนี้จำได้ว่าชอบทำนองเพลงที่ครูเคยเล่นให้ฟัง ติดใจจนต้องมาลองหัดเล่นเอง ฉันว่าช่วงที่เพราะที่สุดของเพลงคือ ช่วงที่เริ่มเล่น mf ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงที่เริ่มเล่น p dolce และกลับมาช่วง mf อีกครั้ง
2. Minuet in G Major, WoO 10, No. 2 (Beethoven)
หนึ่งในเพลงที่ฉันชื่นชอบการเล่นของมือซ้ายมากกว่ามือขวา และชอบจังหวะของเพลง เพราะฟังแล้วดูหนักแน่นดี ถ้าเพลงนี้เป็นคน ก็น่าจะเป็นคนที่มีบุคลิกน่าเชื่อถือ
3. Little Fairy Waltz, Op. 105, No. 1 (Streabbog)
เพลงง่ายๆ ที่มีท่วงทำนองน่ารักสมกับชื่อเพลง เล่นแล้วก็จะเบิกบานตามท่วงทำนองที่ร่าเริง แต่ถ้าเล่นผิดๆ ถูกๆ งานเลี้ยงคงได้เลิกราก่อนกำหนด นางฟ้าวงแตกพากันบินกลับบ้าน 555
แน่นอนว่า Piano Pieces for Children เล่มเขียว-น้ำเงิน เป็นเล่มที่ใช้เวลาในการเรียนแบบมหากาพย์ แต่ก็ยังมีเพลงจากหนังสือเล่มอื่น และเพลงนอกเหนือจากในหนังสือเรียนที่ฉันมีโอกาสได้หัดเล่น เพลงที่ยังจำได้มาจนถึงทุกวันนี้ (อนึ่ง “จำได้” นั้น ไม่ได้หมายความว่าตอนนี้จะยังคงเล่นได้ทุกเพลงนะ บางเพลงแค่จำทำนองได้ หรือบางเพลงอาจจะยังพอเล่นได้บ้างในบางท่อนที่ชอบมากๆ) ได้แก่
1. The Entertainer (Scott Joplin)
เวลาซ้อมเพลงนี้จะรู้สึกเมามันในอารมณ์มาก เพราะจังหวะของเพลงสนุกสนาน ซ้อมแล้วไม่เบื่อ อารมณ์เพลงจะเหมือนเพลงการ์ตูน เวลาที่แม่พูดถึงเพลงนี้ แม่จะไม่เรียกชื่อเพลง แต่จะเรียกว่าเพลง The Sting แทน เพราะเพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวนั่นเอง เพลงนี้ฉันชอบมาก ถือเป็นหนึ่งเพลงประจำตัวฉันในตอนเด็ก
2. Right Here Waiting (Richard Marx)
ไม่แน่ใจว่าทำไมถึงได้เรียนเพลงนี้ ถ้าให้เดา น่าจะเป็นเพราะสมัยก่อนเพลงนี้ถือว่าดังมาก เพราะใช้เป็นเพลงประกอบโฆษณา Chivas Regal ( ณ จุดนี้ หน้าหล่อๆ ของ Michale Wong ลอยมาเลยฮะ) ครูก็เลยเลือกมาให้ฉันลองหัดเล่น และก็เป็นเพลงที่ชอบมากอีกหนึ่งเพลง เพราะไม่บ่อยที่จะมีโอกาสได้เล่นเพลงอื่นๆ นอกจากเพลงคลาสสิกในหนังสือ ถ้าให้พ่อกับแม่นึกเพลงที่ฉันเคยเล่นตอนเด็กๆ จะต้องมีเพลงนี้ติดอยู่ในโผแน่นอน เพราะซ้อมบ่อย เล่นบ่อย จนพ่อกับแม่น่าจะรู้สึกเอียนไปเลย
3. Piano Sonata No. 11 in A Major, K. 331 (Mozart)
เพลงนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจำได้ว่าฟังแล้วละมุนในอารมณ์ เล่นแล้วรู้สึกดี ท่อนกลางเป็นท่อนที่ยากในความรู้สึกฉัน เล่นแล้วจะรู้สึกมึนๆ อึนๆ ส่วนที่ฉันชอบเล่นเป็นพิเศษ จะอยู่ใน movement สุดท้าย ที่เรียกว่า Alla Turca หรือบางคนจะรู้จักในชื่อ Turkish March ส่วนนี้น่าจะเป็นที่รู้จักและคุ้นหูสำหรับคนทั่วไปมากที่สุด สมัยที่ฉันหัดเล่น ถ้าเล่นได้คล่อง เล่นได้ตามที่ต้องการ จะรู้สึกฟินมากๆ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเพลงประจำตัว (แม่เอามาเล่าให้ฉันฟังตอนหลังว่า พ่อเคยแอบถามแม่ว่า ฉันเล่นเพลงนี้ได้เพลงเดียวเหรอ เพราะบ้าซ้อมอยู่แต่เพลงนี้เพลงเดียว 555)
โพสต์นี้น่าจะยาวสุดเท่าที่เคยเขียนมา จุดประสงค์ของการเขียน เพื่อให้ฉันสามารถระลึกถึงความหลัง ได้นึกถึงความรู้สึกเวลาที่เริ่มหัดเรียน หัดเล่นเพลงแต่ละเพลง ว่าในตอนนั้นรู้สึกยังไง ซึ่งเมื่อพูดถึงการเรียนแล้ว เป็นธรรมดาที่จะต้องมีการสอบเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการตัดสินใจว่าจะทำการสอบเกรดเพื่อวัดระดับความรู้ความสามารถทางด้านดนตรีในแต่ละครั้ง ผลพวงที่ฉันจะได้มาเป็นของแถม (ที่ไม่ต้องการ) ในทุกครั้งหลังจากยื่นใบสมัครสอบก็คือ ความตื่นเต้น หวาดหวั่น กังวลใจ อารมณ์ประมาณเวลาต้องรอออกไปพูดหน้าห้อง
การตัดสินใจสอบวัดระดับ ทำให้ต้องหมั่นฝึกซ้อมเพลงที่ใช้ในการสอบและรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ นับไม่ถ้วน ในสมัยที่ฉันสอบ (ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันแนวข้อสอบมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน) การสอบเกรดแต่ละครั้ง ผู้เข้าสอบจะต้องเลือกเล่นเพลงทั้งหมด 3 เพลงจากที่ทางสถาบันกำหนดมา (เหมือนจำได้รางๆ ว่าแบ่งเป็น Group A, Group B, Group C)
ในความรู้สึกฉัน มันก็เหมือนจะยากทุกเพลงนะ แต่เป็นความยากต่างสไตล์ ขึ้นอยู่กับเพลงที่เราเลือก และยังมี Aural Test ที่ตอนสมัยฉัน อาจารย์ผู้สอบจะทำการกดตัวโน้ต 3 ตัว แล้วให้ผู้เข้าสอบร้องตามให้ตรงกับเสียงโน้ตที่ได้ยิน อ้อ! ยังมีการทดสอบการฟังอีกแบบ คือ อาจารย์จะเล่น Cadence แล้วนักเรียนผู้สอบจะต้องระบุว่ามันเป็นท่อนจบแบบไหนใน 4 แบบ ระหว่าง Perfect, Interrupted, Plagal และ Imperfect (ที่ขอสารภาพว่าจนบัดนี้ ฉันก็ยังแยกไม่ค่อยจะออก)
ในความรู้สึกฉัน มันก็เหมือนจะยากทุกเพลงนะ แต่เป็นความยากต่างสไตล์ ขึ้นอยู่กับเพลงที่เราเลือก และยังมี Aural Test ที่ตอนสมัยฉัน อาจารย์ผู้สอบจะทำการกดตัวโน้ต 3 ตัว แล้วให้ผู้เข้าสอบร้องตามให้ตรงกับเสียงโน้ตที่ได้ยิน อ้อ! ยังมีการทดสอบการฟังอีกแบบ คือ อาจารย์จะเล่น Cadence แล้วนักเรียนผู้สอบจะต้องระบุว่ามันเป็นท่อนจบแบบไหนใน 4 แบบ ระหว่าง Perfect, Interrupted, Plagal และ Imperfect (ที่ขอสารภาพว่าจนบัดนี้ ฉันก็ยังแยกไม่ค่อยจะออก)
อีกสิ่งหนึ่งในการสอบที่โหดในความรู้สึกฉัน น่าจะเป็นการฝึกซ้อม Scales and Arpeggios ขอเริ่มกล่าวถึง scale กันก่อน คือ จะมีทั้ง major (อันนี้เล่นแล้วจะให้เสียงแบบ happy mode), harmonic minor และ melodic minor (แบบนี้จะให้เสียงแนว sad tones) แค่การซ้อมแบบธรรมดาที่ทั้งสองมือไปในทิศทางเดียวกันหรือที่เรียกกันว่า similar motion ก็ว่ายากพอสมควรแล้วนะ
นี่อะไรกัน ยังต้องซ้อมแบบ contrary motion ด้วย (คือการเล่นแบบมือแยกจากกัน อารมณ์ประมาณ สองมือมันทะเลาะกัน แล้วแยกกันกลับบ้าน) และถ้ายังไม่รู้สึกสาแก่ใจกับการซ้อม หรือคิดว่าชีวิตยังต้องการสีสันเพิ่มเติม ก็ยังมี scale อีกประเภทหนึ่งที่ใช้ในการสอบ เรียกว่า Chromatic Scale ซึ่ง scale ชนิดนี้จะเป็นการแบ่งความรักของเราให้กับคีย์เปียโนไปอย่างละเท่าๆ กัน เพราะเป็นการกดทุกคีย์ไล่ตามลำดับไป คือกดทั้งคีย์ขาวและคีย์ดำ รักมันไปทุกตัว และแน่นอนว่าจะต้องซ้อม chromatic ทั้งแบบ similar motion และ contrary motion เช่นเดียวกับ scale แบบปกติ ฮือๆ ทำไมชีวิตช่างโหดร้าย
นี่อะไรกัน ยังต้องซ้อมแบบ contrary motion ด้วย (คือการเล่นแบบมือแยกจากกัน อารมณ์ประมาณ สองมือมันทะเลาะกัน แล้วแยกกันกลับบ้าน) และถ้ายังไม่รู้สึกสาแก่ใจกับการซ้อม หรือคิดว่าชีวิตยังต้องการสีสันเพิ่มเติม ก็ยังมี scale อีกประเภทหนึ่งที่ใช้ในการสอบ เรียกว่า Chromatic Scale ซึ่ง scale ชนิดนี้จะเป็นการแบ่งความรักของเราให้กับคีย์เปียโนไปอย่างละเท่าๆ กัน เพราะเป็นการกดทุกคีย์ไล่ตามลำดับไป คือกดทั้งคีย์ขาวและคีย์ดำ รักมันไปทุกตัว และแน่นอนว่าจะต้องซ้อม chromatic ทั้งแบบ similar motion และ contrary motion เช่นเดียวกับ scale แบบปกติ ฮือๆ ทำไมชีวิตช่างโหดร้าย
ส่วนต่อไปจะเป็น Arpeggios ถ้าอธิบายให้เห็นภาพ ก็คือ เป็นการเล่น scale แบบเลือกที่รักมักที่ชัง จะกดข้ามๆ ไม่เล่นทุกตัว ฟังแล้วบางคนอาจคิดว่าง่าย แต่ถ้ากางนิ้วผิด กะขนาดระยะทางพลาด ให้เวลากับการซ้อมในส่วนนี้ไม่มากพอ คะแนนที่ได้ก็จะลดลงเรื่อยๆ ขึ้นกับความถี่ที่ทำผิดพลาด แหะๆ แล้วแบบนี้คะแนนสุดท้ายที่เหลือไว้...เหลือไว้...(แกยังคิดว่าจะมีอะไรเหลืออีกหรือ)
ถ้าคุณคิดว่าทั้งหมดที่ฉันร่ายมานี่โหดแล้ว ช้าก่อน มันยังไม่ใช่ความโหดขั้นสุด เพราะเหนือโหดยังมีโหดเดส (มันคือโหด เติม "est" แสดงขั้นที่สุด) ขอแนะนำให้รู้จัก Sight Reading ที่เป็นส่วนที่จะสูบพลังชีวิตทั้งหมดที่หลงเหลืออยู่ในสมองและร่างกาย
ข้อสอบในส่วนนี้ อาจารย์ผู้สอบจะให้นักเรียนดูส่วนของเพลงที่จะต้องเล่น ซึ่งเป็นเพลงที่เราไม่เคยเห็น หรือไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยที่จะมีเวลาดู วิเคราะห์ ซึมซับ วางแผนการเล่น (หรือท้ายที่สุด อาจใช้ธรรมะเข้าช่วย โดยการส่งกระแสจิตไปถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้ท่านเมตตา) ผู้เข้าสอบจะทำอะไรก็แล้วแต่ หรือทำทั้งหมดที่กล่าวมา ภายในเวลา 30 วินาที
จากนั้นจึงได้ฤกษ์ที่ผู้เข้าสอบจะต้องบรรเลงเพลงที่ได้ดูนั้น และเมื่อจบทั้งหมดของกระบวนการที่ร่ายมานี้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสอบเกรด และเพลงแรกที่แว้บเข้ามาในหัว (โดยที่ระยะเวลาก่อนหน้านั้น ฉันแทบจะไม่ได้ฟังหรือเล่นเพลงอื่นๆเลย นอกจากเพลงที่ใช้ในการสอบ) ก็คงจะเป็น "อยากให้เขารู้...เล่นไม่ได้ เจ็บเพียงไหน ตอบฉันได้ไหม ว่าฉันได้...คะแนนเท่าไหร่" หรือไม่ก็ "ได้แต่ยินยอมรับความเจ็บปวด และฉันจะอดทนแม้ไม่เข้าใจ ไม่อาจจะวิ่งหนี scale ที่ช่างโหดดดดดร้าย ไม่พร้อมก็ต้องทำใจรอคะแนน"
ถ้าคุณคิดว่าทั้งหมดที่ฉันร่ายมานี่โหดแล้ว ช้าก่อน มันยังไม่ใช่ความโหดขั้นสุด เพราะเหนือโหดยังมีโหดเดส (มันคือโหด เติม "est" แสดงขั้นที่สุด) ขอแนะนำให้รู้จัก Sight Reading ที่เป็นส่วนที่จะสูบพลังชีวิตทั้งหมดที่หลงเหลืออยู่ในสมองและร่างกาย
ข้อสอบในส่วนนี้ อาจารย์ผู้สอบจะให้นักเรียนดูส่วนของเพลงที่จะต้องเล่น ซึ่งเป็นเพลงที่เราไม่เคยเห็น หรือไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยที่จะมีเวลาดู วิเคราะห์ ซึมซับ วางแผนการเล่น (หรือท้ายที่สุด อาจใช้ธรรมะเข้าช่วย โดยการส่งกระแสจิตไปถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้ท่านเมตตา) ผู้เข้าสอบจะทำอะไรก็แล้วแต่ หรือทำทั้งหมดที่กล่าวมา ภายในเวลา 30 วินาที
จากนั้นจึงได้ฤกษ์ที่ผู้เข้าสอบจะต้องบรรเลงเพลงที่ได้ดูนั้น และเมื่อจบทั้งหมดของกระบวนการที่ร่ายมานี้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสอบเกรด และเพลงแรกที่แว้บเข้ามาในหัว (โดยที่ระยะเวลาก่อนหน้านั้น ฉันแทบจะไม่ได้ฟังหรือเล่นเพลงอื่นๆเลย นอกจากเพลงที่ใช้ในการสอบ) ก็คงจะเป็น "อยากให้เขารู้...เล่นไม่ได้ เจ็บเพียงไหน ตอบฉันได้ไหม ว่าฉันได้...คะแนนเท่าไหร่" หรือไม่ก็ "ได้แต่ยินยอมรับความเจ็บปวด และฉันจะอดทนแม้ไม่เข้าใจ ไม่อาจจะวิ่งหนี scale ที่ช่างโหดดดดดร้าย ไม่พร้อมก็ต้องทำใจรอคะแนน"
ฉันเรียนกับคุณครูท่านแรกเป็นเวลาทั้งหมดน่าจะเกือบสิบปี ปัจจุบันนี้ ไม่ได้เรียนกับครูแล้ว แต่หนังสือที่เป็นสมบัติส่วนตัวของครูที่อุตส่าห์ให้ฉันยืมมาใช้ในการฝึกซ้อมก็ยังคงหลงเหลืออยู่กับฉัน เนื่องจากไม่เคยได้ติดต่อกับครูอีกเลย ตั้งแต่ที่เลิกเรียนไปในช่วงม.ปลาย ทำให้ไม่รู้จะหาหนทางส่งคืนครูยังไง ซึ่งเอาจริงๆ ก็ไม่อยากคืนครูหรอกนะ อยากเก็บไว้ดูเป็นที่ระลึกถึงว่าเคยมีโอกาสได้เรียนกับครูมากกว่า
หนังสือของครู แม้บางหน้าจะมีรอยขาด (คาดว่าเกิดจากการพลิกหน้ากระดาษไปมาเพื่อฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ) แต่ก็จะมีเทปใสๆ ปะไว้อย่างประณีตบรรจง ทำให้ฉันรู้ว่าครูเป็นคนรักษาของอย่างดีแค่ไหน ก็ได้แต่หวังว่า ครูคงลืมไปแล้วหรือไม่ก็จำไม่ได้หรอก (มั้ง) ว่าหนังสือเหล่านั้นมาอยู่ในมือลูกศิษย์อย่างฉัน
หนังสือของครู แม้บางหน้าจะมีรอยขาด (คาดว่าเกิดจากการพลิกหน้ากระดาษไปมาเพื่อฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ) แต่ก็จะมีเทปใสๆ ปะไว้อย่างประณีตบรรจง ทำให้ฉันรู้ว่าครูเป็นคนรักษาของอย่างดีแค่ไหน ก็ได้แต่หวังว่า ครูคงลืมไปแล้วหรือไม่ก็จำไม่ได้หรอก (มั้ง) ว่าหนังสือเหล่านั้นมาอยู่ในมือลูกศิษย์อย่างฉัน
ถ้าได้เจอครูอีกครั้ง ก็อยากจะบอกกับครูว่า ลูกศิษย์ (ไม่) ดีเด่นคนนี้ ขอขอบพระคุณครูเป็นอย่างสูง ที่ครูเป็นผู้สร้างรากฐานในการเล่นดนตรีให้กับฉัน ขอบคุณสำหรับการให้ความรู้ อดทนอธิบาย สอนให้เด็กอย่างฉันในตอนนั้น สามารถเข้าใจในการเริ่มหัดเล่นเพลงต่างๆ และมีพัฒนาการทางด้านดนตรีขึ้นมา จากที่เล่นไม่เป็นเลย จนสามารถเล่นให้พอฟังเป็นเพลงได้บ้าง ขอขอบพระคุณด้วยความเคารพและระลึกถึงครูเสมอ
I am thankful for having you as my very first musical guide. Life would "b flat" without you!
Source
ภาพประกอบ: Photo by freestocks.org from Pexels
Comments
Post a Comment